เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [3. สมุจจยขันธกะ] 2. ปริวาส
เพื่ออาบัติ 2 ตัว ปิดไว้ 2 เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติเหล่านั้น
ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย การให้
ปริวาสสำหรับเดือนที่แน่ใจแต่ปิดไว้ ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น ส่วน
การให้ปริวาสสำหรับเดือนที่ปิดไว้โดยไม่แน่ใจ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรมย่อม
ฟังไม่ขึ้น ท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ควรแก่มานัตเดือนหนึ่ง”

สุทธันตปริวาส
ปริวาสสำหรับอาบัติหลายตัว ปิดไว้หลายคราว
[156] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ภิกษุนั้นไม่รู้
ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจ
ในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี จึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย
กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว กระผมไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึก
ที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี
กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้สุทธันตปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุนั้น”

วิธีให้สุทธันตปริวาสและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
กระผมไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้
ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นขอสุทธันตปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :255 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [3. สมุจจยขันธกะ] 2. ปริวาส
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[157] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัว ภิกษุนั้นไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุด
ราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี ภิกษุนั้นขอสุทธันตปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้น แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
ภิกษุนั้นไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้
ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี ภิกษุนั้นขอสุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการให้สุทธันตปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้น
พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

วิธีให้สุทธันตปริวาส
[158] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาสอย่างนี้แล สงฆ์พึงให้ปริวาส
อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาสอย่างไรเล่า ภิกษุไม่รู้ที่สุดอาบัติไม่รู้
ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติไม่แน่
ใจในที่สุดราตรี สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :256 }